“ไฟฟ้า” ทำให้ธุรกิจมีชีวิต เพราะไฟฟ้าช่วยในการขับเคลื่อนกิจกรรมภาคส่วนต่าง ๆ ในธุรกิจ ตั้งแต่การผลิต ไปจนถึงการบริหาร หากเกิดปัญหาไฟฟ้าดับ ไฟกระตุก ไฟตก หรือไฟไม่พอจ่าย อาจทำให้เกิดการหยุดชะงักในกิจกรรมสำคัญ และก่อเกิดความเสียหายทางธุรกิจได้
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าจึงเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจ เพื่อให้กิจกรรมสำคัญดำเนินต่อไปได้อย่างไม่สะดุด ซึ่งผู้บริหารหรือผู้เกี่ยวข้องคงทราบดีอยู่แล้ว และได้มีการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าไว้เผื่อกรณีเช่นนั้น อย่างไรก็ตาม คุณจะแน่ใจได้อย่างไรว่า ในยามที่ระบบจ่ายไฟหลักมีปัญหาขึ้นมาจริง ๆ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ติดตั้งอยู่นั้นจะเริ่มทำงานได้ทันที โดยให้ปริมาณไฟฟ้าที่มากพอต่อความจำเป็นต้องใช้ และมีเสถียรภาพสูงในระดับที่สามารถวางใจได้ตลอดช่วงการจ่ายไฟ
เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะทำงานได้เป็นปกตินั้น จะขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ 2 ปัจจัย ได้แก่
- การเลือกใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีคุณภาพสูง และมีสเปคที่เหมาะสมกับการใช้งาน
- การบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ โดยตัวคุณเอง*และผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการรับรองจาก Cummins
ทั้ง 2 ปัจจัยนี้ส่งผลอย่างมหาศาลต่อเสถียรภาพการจ่ายไฟกรณีฉุกเฉิน โดยเฉพาะสำหรับธุรกิจ และกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่อาจต่อรองกับความเสี่ยงได้แม้แต่เพียงเล็กน้อย สำหรับบทความนี้ จะมุ่งเน้นนำเสนอความสำคัญในข้อที่ 1 คือ การเลือกใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีคุณภาพสูง และมีสเปคที่เหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อให้เข้าใจถึงบทบาทสำคัญที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้ามีต่อกิจกรรมทางธุรกิจที่สำคัญของคุณ
*เฉพาะบางกรณี
เครื่องกำเนิดไฟฟ้า คือ อะไร
เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Power Generator) หรือที่นิยมเรียกว่าเครื่องปั่นไฟ หรือเจ็นเซ็ท (Gen Set) คือ อุปกรณ์หรือระบบที่ทำหน้าที่ผลิตไฟฟ้า โดยใช้หลักการเหนี่ยวนำแม่เหล็ก เปลี่ยนจากพลังงานกลไปเป็นพลังงานไฟฟ้า ปัจจุบันมักถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมสำหรับเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าสำรอง ทั้งเพื่อเสริมการจ่ายไฟหลักให้เพียงพอ และ/หรือเพื่อสำรองไฟในยามจำเป็น ทำให้ลดโอกาสที่จะเกิดความเสียหายของธุรกิจและการหยุดชะงักของกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมในกรณีที่แหล่งจ่ายไฟฟ้าหลักดับหรือเกิดเหตุขัดข้อง
เครื่องกำเนิดไฟฟ้า แบ่งออกได้เป็นหลายประเภทตามความต้องการของภาคธุรกิจที่แตกต่างกัน หากแบ่งโดยชนิดเครื่องยนต์อาจแบ่งได้เป็นเครื่องยนต์ดีเซลและเครื่องยนต์เบนซิน แต่ผู้ใช้งานและผู้ประกอบการมักนิยมเลือกใช้ชนิดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซลมากกว่าเพราะมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ต้องการการบำรุงรักษาน้อย เนื่องด้วยชิ้นส่วนภายในที่ทำหน้าที่เป็นจุดระเบิดได้รับการถูกออกแบบให้ทำงานประสานกันได้อย่างดี และมีประสิทธิภาพสูง เหมาะสำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรมหนัก ต้องการกำลังมาก ในขณะที่เครื่องยนต์ชนิดเบนซินมักจะประกอบไปด้วยชิ้นส่วนที่ซับซ้อนและเหมาะกับงานที่ไม่ต้องการกำลังสูง เช่น ที่พักอาศัย
นอกจากนี้ การใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ทำงานด้วยเครื่องยนต์ดีเซลยังช่วยให้เจ้าของธุรกิจและผู้ประกอบการได้จุดคุ้มทุนที่เร็วขึ้นและสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ไม่น้อย เพราะน้ำมันดีเซลเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ภาครัฐให้การสรับสนุนในการตรึงราคา ทั้งเพื่อผู้ผลิตเองและเพื่อประชาชนที่เป็นผู้บริโภคสาธารณะในห่วงโซ่ท้ายสุด
หากพิจารณาจากระบบไฟฟ้าที่ผลิตขึ้น จะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท เป็นแบบไฟฟ้ากระแสตรง (เรียกเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำหรับไฟฟ้ากระแสตรงว่า ไดนาโม: Dynamo) และแบบไฟฟ้ากระแสสลับ (เรียกเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำหรับไฟฟ้ากระแสตรงว่าไดชาร์จ หรือ อัลเทอร์เนเตอร์ : Alternator) สำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรม จะใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบกระแสสลับ เนื่องจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าประเภทนี้อาศัยข้อดีของไฟฟ้ากระแสสลับ ที่มีแรงดันไฟฟ้าสูง เหมาะกับโหลด (load) ที่ต้องการกำลังมาก ๆ
ความสำคัญของการเลือกใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ให้เหมาะสมกับธุรกิจ
“เครื่องกำเนิดไฟฟ้ายี่ห้ออะไรก็ได้ … ไม่ได้!”
หากพิจารณามุมมองการใช้งานในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมแล้ว จะเห็นว่ามีความต้องการโหลดหรือกำลังการผลิตที่สูงและมักมีเงื่อนไขแวดล้อมที่ซับซ้อนและท้าทาย แรงดันไฟจึงต้องเหมาะสม ต่อเนื่อง มีเสถียรภาพสูง และให้ปริมาณไฟฟ้าที่มากเพียงพอกับความจำเป็นต้องใช้ในระหว่างที่ยังเกิดปัญหาไฟดับหรือไฟตกอยู่ คุณจะเริ่มมองเห็นภาพความสำคัญของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามากขึ้นแล้วว่า ไม่ใช่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะอะไรก็ได้….แต่ต้องเป็นยี่ห้อที่คุณสามารถเชื่อมั่นและวางใจได้เท่านั้น
เพราะหากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำงานผิดพลาดไปเพียงเล็กน้อย- หรือไม่สามารถทำงานได้ตาม “ความจำเป็น” หรือ “เพียงพอกับความต้องการใช้” อาจหมายถึงความเสียหายร้ายแรงต่อธุรกิจ หรือหมายถึงชีวิตของผู้คนเลยก็ได้ บทความนี้ขออธิบายความสำคัญของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าผ่านมุมมองของ 3 ธุรกิจนี้ ได้แก่ ศูนย์ข้อมูล โรงพยาบาล และฟาร์มปศุสัตว์ระบบปิด
ธุรกิจผู้ให้บริการ ศูนย์ข้อมูล (data center)
ศูนย์ข้อมูลหรือดาต้าเซ็นเตอร์เป็นอาคาร สถานที่ หรือชั้นในอาคาร ที่ประกอบด้วยเครื่องเซิฟเวอร์จำนวนมาก มีหน้าที่รับ-ส่ง-เก็บ และประมวลผลข้อมูลมหาศาล ดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการทำงานของภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ หลายล้านรายการต่อนาที การติดตั้งหรือเลือกใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ไม่เหมาะสม เช่น มีขนาดพิกัดกำลังไม่มากเพียงพอกับความต้องการใช้งานในศูนย์ข้อมูล หรือหากเกิดปัญหาไฟฟ้าไม่เสถียรแม้เพียงเล็กน้อยอาจส่งผลให้เครื่องเซิฟเวอร์หยุดชะงักการทำงานไประยะหนึ่งหรือในทันที (ที่เรามักเรียกกันว่า “ระบบล่ม”) และนั่นจะนำไปสู่ความเสียหายที่คุณไม่อาจรับไหว คือ ทำให้ระบบอินเตอร์เน็ตขัดข้อง ข้อมูลธุรกรรมโดยเฉพาะข้อมูลที่มีมูลค่าสูง ข้อมูลที่มีความสำคัญทางธุรกิจ ข้อมูลที่ต้องมีการรับ-ส่งสื่อสารตลอดเวลานับล้านเกิดความเสียหาย ตกหล่น เกิดข้อผิดพลาดในการบันทึกข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกดิจิตอลยุคปัจจุบันที่ธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆที่พึ่งพิงระบบออนไลน์เพื่อการผลิตเมื่อคุณ (ไม่ว่าจะเป็นผู้ให้บริการศูนย์ข้อมูล (data center)หรือห้องเซิฟเวอร์ในแผนก IT ขององค์กรขนาดใหญ่) ไม่อาจยอมให้เกิดขึ้นได้แท้แต่นาทีเดียว
“สำหรับบางธุรกิจ…ไม่อาจยอมได้แม้แค่ไฟฟ้ากระตุก!”
ธุรกิจผู้ให้บริการ โรงพยาบาล
คุณลองนึกดูไหมว่าห้องไหนของโรงพยาบาลบาลที่ไม่อาจยอมให้ไฟดับได้? คำตอบของเราน่าจะตรงกันว่าจริงๆแล้วทุกแห่ง ทุกชั้นในโรงพยาบาลนั้นสำคัญหมด แต่ถ้าต้องตอบเพียงห้องเดียวห้องนั้นน่าจะเป็น “ห้องผ่าตัด” ที่ภายในเต็มไปด้วยความฉุกเฉินและนาทีของชีวิต ไม่ว่าจะเป็น แสงสว่าง เครื่องวัดชีพจร เครื่องช่วยชีวิต เครื่องช่วยหายใจ หน้าจอแสดงผลการผ่าตัด ระบบอากาศ และเครื่องมือแพทย์อื่น ๆ อีกมากมายที่เป็นเครื่องมือไฟฟ้า นอกจากนี้อุปกรณ์วินิจฉัยสำคัญในโรงพยาบาล เช่น เครื่อง MRI และแม้แต่ลิฟต์ขนส่งผู้ป่วยที่ซึ่งความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยแค่เสี้ยววินาทีจากระบบจ่ายไฟฟ้าทั้งชนิดจ่ายเสริมและชนิดจ่ายไฟฟ้าสำรอง อาจนำไปสู่ความเสียหายขั้นสูงที่สุดนั่นคือ “ชีวิต” ของใครสักคนหนึ่งที่มีคนรออย่างมีความหวังอยู่ข้างหลัง
อีกตัวอย่างหนึ่งภายในโรงพยาบาลที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน และอาจกระทบเป็นวงกว้างด้วย คือ ระบบประมวลผลข้อมูลผู้ป่วย ดังที่ทราบว่าโรงพยาบาลหลายแห่งในปัจจุบัน ได้เปลี่ยนจากการเก็บข้อมูลผู้ป่วยจากระบบกระดาษและแฟ้ม มาเป็นระบบข้อมูลดิจิทัลในคอมพิวเตอร์ (paperless) ระบบจ่ายไฟที่มีปัญหาแค่ระดับที่ไฟตกแค่ไม่กี่วินาที จนระบบล่ม แพทย์จะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลผู้ป่วยได้ ไม่อาจรู้ว่าผู้ป่วยมีประวัติอะไร มีภาวะอะไรแทรกซ้อนเกิดขึ้นบ้างในการผ่าตัดครั้งก่อน ซึ่งนี่ไม่ใช่เรื่องเป็นไปไม่ได้แต่เคยเกิดขึ้นจริงมาแล้ว ยกตัวอย่างกรณีที่แพทย์ไม่สามารถสั่งยาให้ผู้ป่วยได้ เนื่องจากไม่สามารถเข้าดูข้อมูลผู้ป่วย และผู้ป่วยเองก็จำไม่ได้ว่าใช้ยาอะไร ถือเป็นความเสี่ยงระดับสูงยิ่งหากต้อง “เดา” หรือหากผู้ป่วย “แจ้งชื่อยาผิด” เพราะการได้รับยาผิดนอกจากจะไม่ช่วยรักษาอาการป่วยแล้ว ยังนำไปสู่การแพ้ขั้นรุนแรงได้อีกด้วย
“ไฟดับในโรงพยาบาล…คุณคิดว่าเป็นเรื่องใหญ่หรือไม่?”
อุตสาหกรรม ฟาร์มปศุสัตว์ระบบปิด
เมื่อกล่าวถึงการทำปศุสัตว์ด้วยระบบปิด ย่อมหมายถึงต้องมีการบริหารจัดการที่เหมาะสมและต้องคำนึงถึงสวัสดิภาพความเป็นอยู่ของสัตว์ (ที่เป็นสิ่งมีชีวิต) ซึ่งไม่ใช่แค่ระดับ 100 หรือ 200 ตัว แต่เป็นหมื่นเป็นแสนตัว ดังนั้น การให้อาหารและน้ำ ระบบไฟและแสงสว่าง ระบบปรับอุณหภูมิอัตโนมัติ ระบบจัดการระดับแก๊สในโรงปศุสัตว์ที่ต้องจัดการให้ไม่สูงเกินกำหนด และระบบสุขอนามัยจึงล้วนมีความสำคัญกับทุกชีวิตในฟาร์มเป็นอย่างมาก หากสังเกตดูแล้ว จะพบว่าระบบในฟาร์มปศุสัตว์ระบบปิดต้องพึ่งพาการใช้กระแสไฟฟ้าแทบทั้งหมดเลย การที่คุณจะติดตั้งระบบไฟฟ้าสำรอง จึงต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนเพื่อให้แน่ใจว่าสามารถจ่ายไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสม จ่ายไฟได้มากแล้วพอ และครอบคลุมทั้งระบบฟาร์มของคุณ ไม่เช่นนั้นอาจหมายถึงค่าความเสียหายทางธุรกิจหลักแสนหลักล้าน
สำหรับผู้สนใจเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและระบบสำรองไฟในฟาร์มระบบปิด สามารถศึกษาทำความเข้าใจได้ในบทความหัวข้อ “เครื่องกำเนิดไฟฟ้าในฟาร์มไก่”
ตัวอย่างของธุรกิจทั้ง 3 ประเภทที่กล่าวมานั้น เพื่อเป็นตัวอย่างให้เห็นว่า การเลือกใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อช่วยเสริมการจ่ายไฟหลักให้เพียงพอกับความต้องการใช้และสำหรับระบบสำรองไฟในยามฉุกเฉินต้องพิจารณาปัจจัยหลายอย่างโดยละเอียด และต้องเริ่มจากลักษณะของงานและความต้องการที่หน้างานจริง การออกแบบ คำนวนโหลด การติดตั้งที่เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องสำหรับการติดตั้งและใช้งานเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ตลอดจนสามารถหาอะไหล่ได้เมื่อเสีย มีช่างชำนาญเฉพาะทาง และมีการรับประกันที่ช่วยให้คุณอุ่นใจ เพื่อลดความเสี่ยงหรือข้อผิดพลาดที่จะผลกระทบร้ายแรงต่อธุรกิจ ชีวิต และทรัพย์สิน
สำหรับเจ้าของธุรกิจที่สนใจ Solution เครื่องกำเนิดไฟฟ้า Cummins
- เรามีการทดสอบเครื่องก่อนการส่งมอบ (Pre-Delivery Test)*
- รับประกันการจัดหาอะไหล่แท้เพื่อการซ่อมอย่างน้อย 10 ปี*
- บริการบำรุงรักษาประจำปี (on-site Preventive Maintenance) ตลอดอายุการใช้งาน*
- บริการบำรุงรักษาแบบ in-shop ที่ศูนย์บริการหลังการขาย ที่อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ศูนย์บริการมาตรฐานแห่งเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองจาก Cummins Inc
*กรุณาตรวจสอบรายละเอียดเฉพาะกับพนักงานฝ่ายขายที่ดูแลท่าน
โดยสามารถปรึกษาความต้องการและสเปคของเครื่องที่ใช่สำหรับคุณได้ โดยผ่านแบบฟอร์มขอคำแนะนำเพิ่มเติม หรือติดต่อช่องทางดังต่อไปนี้
📞 02-301-7500
📩 [email protected]
💻www.cumminsdkshthailand.com
อย่าลืม! วางแผนบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของคุณ
นอกจากการเลือกใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้เหมาะสมกับธุรกิจของคุณแล้ว สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันและมีบทบาทอย่างมากต่ออายุการใช้งานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าก็คือ การบำรุงรักษาอย่างถูกวิธี การทำความเข้าใจแนวทางการตรวจสอบเบื้องต้นด้วยตนเอง และรู้ว่าเมื่อไหร่ที่ควรต้องส่งซ่อมกับเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ จะช่วยให้คุณสามารถใช้งานเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ตามอายุการใช้งานที่ควรจะเป็น และลดความเสี่ยงที่อาจเกิดความเสียหายแก่ตัวเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่หน้างานของคุณให้มากที่สุด เพราะเราทราบดีว่า “อะไรก็ตามที่คุณซื้อมาด้วยราคาที่สูง คุณก็ย่อมต้องการใช้งานให้คุ้มค่าที่สุด”
ทำไมต้องวางแผนบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
- เพราะการใช้งานเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามีความแตกต่างกัน ต้องการการดูแลไม่เหมือนกันเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีลักษณะการใช้งานแตกต่างกัน เช่น บางเครื่องต้องเปิดใช้งานตลอด ไม่ได้หยุดพัก บางเครื่องใช้งานแบบเปิด-ปิดเป็นระยะ การวางแผนบำรุงรักษาสำหรับการใช้งานที่ไม่เหมือนกัน และต้องเลือกใช้แนวทางให้เหมาะสม
- เพื่อสังเกตและเข้าใจสัญญาณความผิดปกติได้ทันท่วงที
เมื่อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแสดงอาการผิดปกติ หรือมีสัญญาณฟ้องบางอย่าง คุณต้องรู้ว่าอาการหรือสัญญาณแบบใด บ่งบอกว่าอาจมีปัญหาอะไรเกิดขึ้น เพื่อที่จะได้วางแผนปฏิบัติการแก้ไขได้ถูกต้องตามความเร่งด่วน - เพื่อตรวจสอบหาความผิดปกติที่สังเกตไม่ได้ด้วยตัวเอง
ปัญหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ไม่ได้แสดงออกมาเป็นสัญญาณที่ชัดเจนเสมอไป ผู้ผลิตจึงต้องกำหนดให้มีแผนตรวจสอบและซ่อมบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นประจำ เพื่อตรวจสอบอุปกรณ์และความผิดปกติต่าง ๆ ในตัวเครื่องที่คุณไม่สามารถสังเกตได้ด้วยตัวเอง
แนวทางการดูแลรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของ Cummins แบ่งเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่
- การตรวจสอบและดูแลรักษาที่สามารถทำเองได้เป็นประจำ:
ซึ่งเป็นงานตรวจสอบที่สามารถทำได้เองทุกวันหรือทุกสัปดาห์ (ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดในการตรวจสอบ) - การตรวจสอบและดูแลรักษาที่ต้องดูแลด้วยทีมช่าง Cummins เท่านั้น (ไม่สามารถทำด้วยตนเองได้) :
คือ การตรวจสอบที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ มีวิธีการเชิงเทคนิคที่ซับซ้อน และต้องใช้เครื่องมือทดสอบแบบเฉพาะ ที่มีความเสี่ยงสูงและเป็นอันตราย การตรวจสอบประเภทนี้ ควรทำโดยช่างเทคนิคที่เชี่ยวชาญจาก Cummins
สรุป
การเลือกใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีคุณภาพสูง และมีสเปคที่เหมาะสมกับการใช้งานอย่างละเอียดถี่ถ้วนเป็น ปัจจัยสำคัญที่ช่วยปกป้องธุรกิจ และกิจกรรมทางธุรกิจของคุณ ในยามที่ระบบจ่ายไฟหลักเกิดปัญหา เพราะการทำงานที่ผิดพลาดเพียงเล็กน้อยของระบบไฟฟ้าสำรองซึ่งเกิดจากการเลือกใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ไม่เหมาะสม อาจหมายถึงความเสียหายอย่างมหาศาลต่อธุรกิจของคุณ ดังนั้น จึงควรทำความเข้าใจอย่างจริงจังว่าอุตสาหกรรมและความต้องการใช้ไฟฟ้าที่หน้างานธุรกิจของคุณเป็นอย่างไร เพราะจะเป็นตัวกำหนดสเปคของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและระบบที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสมต่อไป
หากสนใจเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและระบบสำรองไฟฟ้ายามฉุกเฉินสำหรับธุรกิจของคุณโดยเฉพาะ เรามีบริการให้คำปรึกษาโดยเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ สามารถปรึกษาเราได้ ผ่านแบบฟอร์มขอคำแนะนำเพิ่มเติม หรือทางโทรศัพท์ 📞 02-301-7500 และอีเมล [email protected]