มาตรฐานความปลอดภัยพื้นฐาน 8 ประการ ของ คัมมิ่นส์

มาตรฐานความปลอดภัยพื้นฐาน 8 ประการ ของ คัมมิ่นส์

การทำงานด้านวิศวกรรมและเครื่องยนต์นั้นย่อมมีความเสี่ยง Cummins จึงให้ความสำคัญกับการทำงานภายใต้ความเสี่ยงของบุคลากรทุกภาคส่วน เราจึงจัดตั้งมาตรฐานความปลอดภัยพื้นฐาน 8 ประการ เป็นแนวทางในการทำงานเพื่อความปลอดภัยของตนเอง เพื่อนร่วมงาน และผู้อื่น ถือเป็นการรักษาประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากร เครื่องมือ และสภาพแวดล้อมให้อยู่ในสภาวะปกติเรียบร้อย

พลังงานที่ทำให้เกิดอันตราย

  • สารเคมี
    มีอันตรายหลายด้านที่ควรระวัง ทั้งความอันตรายทางกายภาพ เช่น การระเบิด การติดไฟ การเกิดประกายไฟ รวมทั้งความอันตรายต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน เช่น การระคายเคือง แสบ คัน หรือเป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย
  • ไฟฟ้า
    อันตรายจากการทำงานท่ามกลางระบบไฟฟ้าคือโอกาสเสี่ยงที่จะมีไฟฟ้าลัดวงจร เกิดประกายไฟ ไฟไหม้ หรือการระเบิด ซึ่งส่งผลกระทบต่อร่างกายและทรัพย์สินอย่างมหาศาล
  • แรงโน้มถ่วง
    พลังงานที่เกิดจากแรงโน้มถ่วงนั้นมีความอันตรายและความเสี่ยงต่อผู้ปฏิบัติงาน อาทิ การลำเลียงสิ่งของขึ้นสู่ที่สูงแล้วเกิดร่วงหล่น หรือการที่บุคลากรพลัดตกจากที่สูงจนได้รับบาดเจ็บขณะปฎิบัติงาน
  • ไฮโดรลิก
    การทำงานกับอุปกรณ์ที่ติดตั้งระบบไฮโดรลิกนั้นมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากกลไกของระบบไฮดรอลิกทำให้เกิดความร้อน ซึ่งทำให้เครื่องจักรหรือเครื่องมือเสียหายได้ นอกจากนี้ยังมีโอกาสทำให้เกิดไฟไหม้ในบริเวณที่ติดตั้งได้เช่นเดียวกัน
  • เครื่องกล
    กลไกและระบบต่าง ๆ ของเครื่องกลนั้นถูกออกแบบให้เครื่องจักรทำงานได้ง่ายและลื่นไหล แต่ก็อาจจะมีอุปกรณ์บางอย่างที่มีโอกาสเสี่ยงเกิดอันตรายต่อผู้ใช้งาน จึงควรใช้งานด้วยความชำนาญและระมัดระวังเป็นพิเศษเมื่อต้องทำงานกับเครื่องกล
  • พลังงานลม
    หากคุณต้องทำงานท่ามกลางพลังงานลมหรือกระแสลมแรงเป็นเวลานาน อาจจะส่งต่อสุขภาพได้ง่าย เช่น ระบบทางเดินหายใจ ระคายเคืองดวงตา หรือเกิดลมพิษที่ร่างกาย บุคลากรจึงควรสวมใส่เสื้อผ้าและอุปกรณ์ป้องกันกระแสลม
  • รังสี
    การทำงานร่วมกับพลังงานรังสีนั้นจำเป็นต้องป้องกันตัวเองอย่างแน่นหนา เพราะรังสีบางชนิดส่งผลต่อระบบการทำงานของร่างกาย หากสัมผัสรังสีปริมาณมากเป็นเวลานาน ๆ ก็จะทำให้คุณเจ็บป่วยได้
  • พลังงานความร้อน
    ความร้อนนั้นส่งผลต่อสุขภาพและสภาพแวดล้อมการทำงานอย่างแน่นอน การติดตั้งเครื่องมือที่ใช้งานพลังงานความร้อนจึงต้องมีอุปกรณ์ป้องกันเสมอ และอาศัยความเชี่ยวชาญของบุคลากร ไม่เช่นนั้นอาจจะเสี่ยงที่จะเกิดอุณหภูมิสูงผิดปกติจนเกิดการเผาไหม้ในที่ทำงาน

สภาพร่างกายที่เหมาะสมกับงาน

  • สุขภาพที่ดี
    ผู้ปฏิบัติงานควรมีความพร้อมด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจก่อนทำงานทุกครั้ง เพราะหากคุณมีอาการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อย เช่น หน้ามืด วูบ อ่อนเพลีย หรือวิงเวียนศีรษะ ก็อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานและเกิดอันตรายต่อตนเองอย่างคาดไม่ถึง
  • ความช่วยเหลือสนับสนุน
    สำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีสภาพร่างกายเหมาะสมก็จะสามารถช่วยเหลือและสนับสนุนให้งานนั้นเสร็จสมบูรณ์โดยไม่เกิดความเสี่ยงตามมาภายหลัง ส่งผลดีทั้งต่องาน เพื่อนร่วมงาน และธุรกิจ
  • ยาเสพติดและสิ่งมึนเมา
    การหลีกเลี่ยงยาเสพติดหรือสิ่งมึนเมาก่อนปฏิบัติงานนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก เพราะสิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อสภาพร่างกายอย่างเลี่ยงไม่ได้ หากคุณทำงานขณะมึนเมาหรือขาดการยั้งคิดเพียงชั่วครู่ อาจจะส่งผลเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างมหาศาล
  • มีสมาธิในการทำงาน
    การทำงานด้วยสติและสมาธิจะช่วยให้คุณตัดสินใจได้รอบคอบและมีประสิทธิภาพ งานที่ได้ก็จะมีผลลัพธ์ที่ดีและไม่ส่งผลกระทบต่อผู้อื่น
  • ความเหนื่อยล้า
    หากคุณมีความเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ควรลาหยุดเพื่อพักผ่อนให้ร่างกายได้ฟื้นตัว และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ช่วยบำรุงร่างกาย เมื่อหายจากความอ่อนเพลีย คุณก็จะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพดังเดิม
  • สุขภาพจิต
    ผู้ปฏิบัติงานไม่ควรมองข้ามปัญหาสุขภาพจิต อาทิ ความเครียด ความวิตกกังวล โรคแพนิค (Panic) หรืออาการซึมเศร้าที่อาจจะเกิดขึ้นชั่วครั้งคราว เพราะสุขภาพจิตที่ย่ำแย่จะส่งผลต่อสุขภาพกายและความพร้อมในการปฏิบัติงานอย่างปฏิเสธไม่ได้

การขับรถที่ปลอดภัยทุกเส้นทาง

  • สภาพแวดล้อม
    หากการทำงานของคุณจำเป็นต้องขับขี่รถ คุณควรเตรียมแผนรับมือกับสภาพแวดล้อมที่มีความหลากหลายและอาจจะเกิดความเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
  • สิ่งรบกวน
    การขับขี่รถอาจจะมีสิ่งรบกวนเกิดขึ้นได้ง่าย อาทิ เสียงวิทยุ รถที่ขับขี่ร่วมเส้นทาง รวมทั้งบรรยากาศตลอดสองข้างทางที่ขับขี่ ผู้ขับขี่จึงควรมีสมาธิจดจ่ออยู่กับเส้นทางเพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน
  • ความเหนื่อยล้า
    ความเหนื่อยล้าระหว่างขับขี่เป็นสิ่งที่ยากจะหลีกเลี่ยง หากคุณต้องขับขี่ทางไกล หรือขับขี่เป็นเวลานาน ร่างกายย่อมเกิดความเมื่อยล้า เหน็ดเหนื่อย และอ่อนเพลีย หากมีเวลาพักผ่อนหรือเปลี่ยนอิริยาบถระหว่างวันก็สามารถช่วยให้รู้สึกสบายตัวได้
  • แผนการเดินทาง
    ไม่ว่าคุณต้องขับขี่ไปสถานที่ไหน คุณควรวางแผนการเดินทางก่อนเสมอ ศึกษาเส้นทาง หาปั๊มน้ำมัน หรือจุดจอดพักระหว่างทาง เพื่อการขับขี่ที่ปลอดภัยและช่วยให้คนขับถึงที่หมายโดยสวัสดิภาพ
  • กฎจราจร
    การขับขี่รถแต่ละประเภทนั้นมีกฎระเบียบต่างกัน คุณควรศึกษาให้รอบคอบและแม่นยำ รวมทั้งกฎจราจรที่เคร่งครัด เพราะส่งผลต่อความปลอดภัยของเพื่อนร่วมทางและช่วยให้คุณขับขี่ได้อย่างราบรื่นจนถึงที่หมาย
  • เข็มขัดนิรภัย
    ความปลอดภัยเบื้องต้นของผู้ขับขี่คือการคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง เนื่องจากเข็มขัดนิรภัยถูกออกแบบมาให้ช่วยลดความรุนแรงของอันตรายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ และเป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่ต้องมีการติดตั้งมาพร้อมกับรถทุกคัน
  • การตรวจสภาพรถ
    หากคนขับมีความพร้อมแต่รถไม่มีความพร้อมก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายได้ ก่อนขับขี่จึงควรตรวจสภาพรถเบื้องต้นเสมอ อาทิ ปริมาณของเหลวในเครื่องยนต์ คันเร่ง เบรก เกียร์ ล้อรถ รวมทั้งสภาพเครื่องยนต์โดยช่างที่มีความชำนาญ

สิทธิ์ในการทำงาน

  • ใบอนุญาต
    การทำงานร่วมกับเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญ ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานจึงจำเป็นต้องมีใบอนุญาตเสมอ เพื่อความปลอดภัยของตัวเองและลดความเสี่ยงต่อเพื่อนร่วมงาน
  • การขออนุญาตเข้าทำงาน
    ในพื้นที่ทำงานที่มีความเสี่ยงจำเป็นต้องมีการระบุตัวตนของบุคลากรเสมอ หากผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องเข้าทำงานก็ต้องมีการแจ้งบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อรับการอนุญาตทุกครั้ง
  • การฝึกอบรม
    สำหรับผู้ปฏิบัติงานที่ต้องทำงานร่วมกับเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ จำเป็นต้องผ่านการฝึกอบรมเชิงเทคนิคและความปลอดภัย เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพและลดโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายต่อผู้อื่น
  • การตรวจสอบความสามารถ
    ก่อนมอบหมายงานให้บุคลากรทางบริษัทจำเป็นต้องตรวจสอบคุณสมบัติและความสามารถว่าตรงตามขอบเขตของงานหรือไม่ เพื่อประสิทธิภาพของงานที่ดีและประโยชน์ต่อส่วนรวม
  • การกำหนดผู้มีสิทธิ์ทำงาน
    การทำงานภายใต้ความเสี่ยงจำเป็นต้องกำหนดสิทธิ์ให้ผู้ปฏิบัติงานและจำกัดจำนวนของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้มีการแบ่งหน้าที่ชัดเจนและลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นขณะทำงานร่วมกับเครื่องจักรต่าง ๆ

การทำงานบนที่สูง

  • ระบบป้องกันการตก
    พื้นที่ทำงานควรมีการวางระบบหรือติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันการพลัดตกจากที่สูง เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุและความเสียหายต่อร่างกายของผู้ปฏิบัติงาน
  • บันไดและผู้เฝ้าระวัง
    ในพื้นที่การทำงานที่มีความเสี่ยงควรมีบันได้สำหรับการใช้งานทั่วไปและบันไดสำหรับกรณีฉุกเฉิน รวมทั้งมีการมอบหมายหน้าที่ในการเฝ้าระวังการเข้า-ออก ของบุคลากรอย่างเคร่งครัด
  • อุปกรณ์รองรับ
    หากมีการทำงานบนที่สูง อาทิ การขึ้นไปบนคาน การทำงานบนรถยก การทำงานบนเครนกระเช้า ควรมีอุปกรณ์รองรับที่พื้นเพื่อปกป้องผู้ปฏิบัติงานในกรณีที่มีการพลัดตกลงมา
  • การขออนุญาตทำงาน
    การทำงานบนที่สูงย่อมมีความเสี่ยง ผู้ปฏิบัติงานจึงมีความจำเป็นต้องขออนุญาตและรับอุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสมก่อนเริ่มงานทุกครั้ง
  • ทำงานที่พื้นราบหรือบน Platform
    แม้เป็นการทำงานบนพื้นราบที่มีความต่างระดับเล็กน้อย ผู้ปฏิบัติงานก็ต้องทำงานด้วยความระมัดระวัง เพราะมีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เช่น การสะดุดล้ม การเดินเสียหลักจากพื้นต่างระดับ เป็นต้น
  • การกำหนดตำแหน่งทำงานที่เหมาะสม
    สำหรับการทำงานบนที่สูงจำเป็นต้องมีการกำหนดผู้ปฏิบัติงานตามตำแหน่งงานที่เหมาะสมและเพียงพอต่องานนั้น ๆ ไม่ควรให้ผู้ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องเข้าไปยังพื้นที่ทำงาน

การยกสิ่งของ

  • ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ความชำนาญ
    การยกสิ่งของหรือเคลื่อนย้ายสิ่งของนั้นต้องอาศัยความชำนาญ เนื่องจากน้ำหนัก ขนาด และความเปราะบางของสิ่งของแต่ละชนิดนั้นแตกต่างกัน ถ้าไม่มีความชำนาญก็อาจจะทำให้สิ่งของเกิดความเสียหายได้
  • การตรวจสอบบำรุงรักษา
    อุปกรณ์และเครื่องทุ่นแรงที่ใช้สำหรับการยกสิ่งของก็จำเป็นต้องมีการตรวจสภาพและบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอย่างสม่ำเสมอ
  • แผนการยก
    การยกสิ่งของอาจจะมองดูไม่ใช่เรื่องยาก แต่จำเป็นต้องมีการวางแผนล่วงหน้าเสมอ เพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดกับสิ่งของ และเป็นการลดต้นทุนด้านทรัพยากรอีกด้วย
  • การลงทะเบียน
    ก่อนทำการยกสิ่งของทุกครั้ง ผู้ปฏิบัติงานควรลงทะเบียนเพื่อระบุตัวตนและประเภทสิ่งของให้ชัดเจน เพื่อการติดตามสถานะและตรวจสอบสิ่งของอย่างง่ายดาย
  • การเตรียมการให้ปลอดภัย
    เมื่อต้องทำการยกสิ่งของ ควรเตรียมการด้านความปลอดภัยให้รอบด้าน อาทิ อุปกรณ์ป้องกัน เครื่องทุ่นแรง พื้นที่ในการยกสิ่งของ และพื้นที่จัดเก็บสิ่งของ เป็นต้น

การควบคุมกิจกรรมความเสี่ยง

  • เข้าทำงานที่อับอากาศ
    หากต้องปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ ผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ป้องกันและอุปกรณ์เสริมที่ช่วยเรื่องอากาศในการหายใจ อาทิ หน้ากากป้องกันมลพิษหรือหน้ากากออกซิเจน
  • งานขุด
    สำหรับการทำงานในพื้นที่ที่มีการขุดเจาะย่อมเกิดฝุ่นควัน เสียงดัง และการสั่นสะเทือน ผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันจมูกและหู เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาสุขภาพตามมา
  • ไฟฟ้าแรงสูง
    การทำงานในพื้นที่ที่มีไฟฟ้าแรงสูงก็จำเป็นต้องสวมใส่เสื้อผ้า ถุงมือ และหมวก ที่เป็นฉนวนไฟฟ้า เพื่อกีดกันหรือขัดขวางการไหลของกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ร่างกายของผู้ปฏิบัติงาน
  • งานก่อเกิดประกายไฟ
    ประกายไฟอาจส่งผลกระทบต่อดวงตา ผิว และอุปกรณ์ที่ติดไฟง่าย หากต้องเข้าทำงานในพื้นที่ที่มีประกายไฟง่าย ควรสวมใส่เสื้อผ้าป้องกัน หน้ากาก และถุงมืออย่างแน่นหนา
  • ไฟฟ้าแรงต่ำ
    การทำงานในพื้นที่ไฟฟ้าแรงต่ำก็ควรป้องกันคล้าย ๆ กับพื้นที่ไฟฟ้าแรงสูง คือการสวมใส่เสื้อผ้า ถุงมือ และหมวก ที่เป็นฉนวนไฟฟ้า
  • ทำงานบนที่สูง
    การทำงานบนที่สูงควรมีการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันการพลัดตก ราว ระเบียง หรือติดตั้งอุปกรณ์ที่ทำจากสลิงเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถโรยตัวลงมาได้ง่าย
  • การอนุญาตทำงาน
    การทำงานในพื้นที่เสี่ยงจำเป็นต้องกำหนดตัวบุคลากรและอนุญาตให้มีการทำงานอย่างเคร่งครัด เพื่อการดูแลความปลอดภัยที่ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
  • พื้นที่คับแคบ
    ผู้ที่ต้องปฏิบัติงานในที่คับแคบจะต้องมีอุปกรณ์ป้องกันและอุปกรณ์ช่วยเหลือให้ทำงานได้คล่องตัวมากที่สุด และจำกัดจำนวนผู้ปฏิบัติงานเฉพาะผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเท่านั้น

อุปกรณ์ทำงาน

  • อุปกรณ์และเครื่องมือ
    การใช้งานอุปกรณ์และเครื่องมือในการทำงานต้องมีความเชี่ยวชาญ ความระมัดระวัง และปฏิบัติตามคู่มืออย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน
  • อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE)
    การสวมใส่และใช้งานอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล หรือ Personal Protective Equipment (PPE) จะช่วยให้คุณทำงานด้วยความปลอดภัยต่อร่างกายและสุขภาพมากยิ่งขึ้น
  • การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
    อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มักมีคู่มือการใช้งานและคู่มือบำรุงรักษาแนบมาให้ผู้ปฏิบัติงานศึกษาโดยละเอียด เพื่อให้การทำงานปลอดภัย ลดความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินและความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุกับบุคลากร

การทำงานตามมาตรฐานความปลอดภัยพื้นฐาน 8 ประการ จะช่วยลดความเสี่ยงให้บุคลากร

หากคุณต้องทำงานภายใต้ความเสี่ยงทั้ง 8 ด้าน Cummins ขอแนะนำให้ปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยพื้นฐาน 8 ประการ เพื่อช่วยลดความเสี่ยง ลดการสูญเสีย และทำให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น ทั้งนี้เพื่อให้บุคลากรมั่นใจในความปลอดภัยขณะปฏิบัติงาน และเจ้าของธุรกิจก็วางใจได้ในเรื่องความต่อเนื่องของงานที่ไม่หยุดชะงัก ลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับทรัพย์สิน เครื่องจักร วัตถุดิบ และบุคลากรในระบบการผลิต การปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยนี้รวมถึงการใช้อุปกรณ์ป้องกันที่ได้มาตรฐาน ความรู้และความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจของผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงความเอาใจใส่ของเพื่อนร่วมงาน จะช่วยให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดในสถานที่ทำงาน

สนใจเครื่องยนต์ขับปั๊ม ของ Cummins สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คัมมิ่นส์ ดีเคเอสเอช (ประเทศไทย) โทร. 02-301-7500 หรือ คลิกที่นี่

โซลูชั่น Cummins ครบวงจรแห่งเดียวในไทย

เราให้บริการโซลูชั่นเต็มรูปแบบสำหรับทุกความต้องการ ตั้งแต่สินค้า: เครื่องยนต์ดีเซลสำหรับทุกการใช้งาน เครื่องกำเนิดไฟฟ้าครอบคลุมประเภทธุรกิจที่หลากหลาย ไปจนถึงบริการหลังการขาย: ส่วนประกอบ ชิ้นส่วน วัสดุสิ้นเปลือง การซ่อม PM หรือ การทำ Overhaul ประจำปี ศูนย์บริการ วิศวกร และช่างเทคนิคโดย Cummins ของเราได้รับการรับรองมาตรฐานระดับโลก เรามีทีมขายคอยสนับสนุนทั่วประเทศ รวมถึงทุกความต้องการในประเทศลาวและกัมพูชา เราเป็นพันธมิตรโซลูชั่นด้านพลังงานที่ธุรกิจของคุณสามารถวางใจ

เครื่องยนต์ดีเซล

ครอบคลุมทุกกลุ่มอุตสาหกรรม

เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

ตอบโจทย์การผลิตไฟฟ้าสำรองตั้งแต่ฟาร์มปศุสัตว์ไปจนถึง Data Center ขนาดใหญ่

ชิ้นส่วนและอะไหล่

ชิ้นส่วนและอะไหล่คัมมิ่นส์แท้ รวมไปถึงไส้กรอง น้ำมันเครื่อง และวัสดุสิ้นเปลืองอื่นๆที่เรามีพร้อมให้บริการ

งานบริการซ่อม

งานบริการดูแลรักษาและซ่อมบำรุงทั้งในศูนย์ซ่อมมาตรฐานขนาดใหญ่และแบบ on-site บริการถึงหน้างาน