ดูแลเครื่องยนต์เรือ Cummins

คู่มือการดูแลเครื่องยนต์เรือ Cummins 

การใช้งานเครื่องยนต์เรือให้มีประสิทธิภาพ คงทน และปลอดภัย คุณจำเป็นต้องรู้จักเครื่องยนต์ที่ใช้ให้ดีและใส่ใจในการดูแลรักษาเครื่องยนต์อย่างสม่ำเสมอ ซึ่ง Cummins รวบรวมข้อมูลมาฝากเจ้าของเรือ อู่ต่อเรือ อู่ซ่อมเรือ ช่าง และผู้ใช้งานในบทความนี้

เครื่องยนต์เรือ และ รูปแบบการติดตั้งที่ต่างกัน ควรดูแลต่างกันอย่างไร?

เจ้าของเรือ อู่ต่อเรือ  ควรศึกษาและทำความเข้าใจว่าเครื่องยนต์เรือนั้นมีลักษณะพิเศษอย่างไร? และรูปแบบการติดตั้งที่นิยมในปัจจุบันนั้นมีกี่รูปแบบ เพื่อการเลือกใช้งานอย่างเหมาะสมและบำรุงรักษาอย่างถูกต้อง

เครื่องยนต์เรือ

เรือประเภทต่างๆ จะขับเคลื่อนได้เต็มประสิทธิภาพก็ด้วยเครื่องยนต์ที่ถูกออกแบบสำหรับการใช้งานเรือโดยเฉพาะ เครื่องยนต์เรือนั้นจำเป็นต้องมีแรงม้าที่เหมาะสมกับลักษณะของงาน  ทนทานต่อความร้อน มีการออกแบบระบบระบายความร้อนที่แตกต่างจากหม้อน้ำของเครื่องยนต์ใน application อื่น ๆ อันเนื่องมาจากพื้นที่ติดตั้งมีจำกัดและคับแคบ (ท้องเรือหรือห้องเครื่องในเรือมักมีขนาดเล็ก) มีระบบอัจฉริยะที่แสดงผลสถานะความผิดปกติของเครื่องยนต์ให้คนขับเรือ เจ้าของเรือ หรือช่างรู้ผ่านหน้าจอควบคุม เพื่อให้คุณสามารถวางใจในการเดินทางและการทำธุรกิจทางน้ำว่าจะมีความปลอดภัยต่อผู้โดยสารและทรัพย์สิน เดินเครื่องได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน  งานเป็นไปตามแผน ที่สำคัญหรือสามารถดูแลรักษาเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง  

และเพราะว่าเครื่องยนต์เรือทำงานอย่างต่อเนื่อง และเป็นงานแบบ Heavy Duty จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลและมีการตรวจสภาพเครื่องยนต์อย่างสม่ำเสมอ  และคุณจะทำอย่างไรให้สามารถสังเกตและดูแลเบื้องต้นด้วยตนเองในทุก ๆ วัน?

รูปแบบการติดตั้งเครื่องยนต์เรือ

เรือต่างประเภทและเรือที่มีรูปแบบการวางเครื่องยนต์ที่ต่างกัน ย่อมประสบสภาวะทางน้ำที่ไม่เหมือนกันและนำไปสู่การดูแลที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น การมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตั้งแต่ความแตกต่างของรูปแบบการติดตั้งเครื่องยนต์ย่อมจะทำให้การดูแลด้วยตนเองทำได้อย่างดีมากขึ้น 

ไปทำความรู้จักกันว่าเครื่องยนต์ในเรือนั้นมีติดตั้งแบบใดได้บ้าง  โดยเฉพาะเครื่องยนต์เรือคัมมิ่นส์ (Cummins Marine Engine) นั้นมีการวางเครื่องยนต์แบบใด

1.Inboard Engines

การติดตั้งเครื่องยนต์เรือภายในตัวเรือโดยทุกส่วนของระบบขับเคลื่อนอยู่ภายในห้องเครื่อง มีเพียงใบพัดจักรและหางเสือที่อยู่นอกตัวเรือเท่านั้น  การติดตั้งเครื่องยนต์แบบ Inboard นอกจากจะช่วยให้เรือมีความสวยงาม มีพื้นที่ใช้สอยมากขึ้น  เสียงเครื่องเบา ไอเสียน้อยลงจากการซ่อนระบบการทำงานไว้ภายในห้องเครื่องแล้ว ยังช่วยกระจายน้ำหนักภายในเรือได้ดี ทำให้เรือมีความมั่นคงมากขึ้น  ช่วยลดความเสี่ยงที่เรือจะเสียการทรงตัวหรือพลิกคว่ำได้

 Inboard Engines การติดตั้งเครื่องยนต์เรือภายในตัวเรือหรือห้องเครื่องนั้นใช้ได้กับเรือทุกประเภทด้วยการออกแบบเฉพาะที่เหมาะกับเรือนั้น ๆ  และเหมาะเป็นพิเศษกับเรือที่ต้องการความสวยงามและความสำราญใจ เช่น เรือสำราญ เรือยอร์ช เรือเพื่อการโดยสารส่วนตัว เรือคาตามารัน เป็นต้น

2.Outboard Engines

รูปแบบการติดตั้งเครื่องยนต์ภายนอกตัวเรือ  เป็นการติดตั้งที่เครื่องยนต์ทั้งหมดอยู่ที่ท้ายเรือดังเช่นที่เราเคยเห็นในเรือเร็ว เรือเล็ก เรือประมง เรือตกปลา ข้อเด่นคือความรวดเร็วเพราะวางเครื่องแล้วใช้ได้ทันที  ไม่ต้องมีการออกแบบระบบเพิ่มเติม หากต้องการซ่อมก็สามารถยกออกได้ง่าย  ซึ่งทั้งหมดนี้แลกมากับข้อเสียเรื่องความสวยงามของเรือที่ลดน้อยลงไป  พื้นที่ใช้สอยลดลง  กลิ่น และเสียงที่มากขึ้น เนื่องจากเครื่องทำงานอยู่ในบริเวณเดียวกับพื้นที่โดยสาร หากเป็นกลุ่มเรือสำราญ เรือยอร์ช (pleasure boat) เจ้าของเรือหรือลูกค้าอาจมีประสบการณ์ในการเดินทางที่ไม่ประทับใจได้

3.Sterndrive Engines

รูปแบบการติดตั้งเครื่องยนต์เรือที่ผสมผสานระหว่าง Inboard และ Outboard โดยส่วนที่เป็นเครื่องยนต์จะอยู่ในห้องเครื่อง ส่วนเกียร์ เพลา และใบพัดอยู่นอกตัวเรือ จึงทำให้ได้ทั้งข้อดีและข้อเสียจากการติดตั้งทั้ง 2 ประเภทมาอยู่ในการติดตั้งในรูปแบบนี้

แนะนำอ่านต่อ: เครื่องยนต์เรือมีกี่ประเภท? และมีข้อแตกต่างกันอย่างไร?

ปัญหาที่พบบ่อยในเครื่องยนต์เรือ

ปัญหาที่พบบ่อยในเครื่องยนต์เรือ

เครื่องยนต์ในเรือ คือเครื่องยนต์ที่ทำงานในสภาวะที่ท้าทาย ทั้งการแล่นอยู่บนน้ำ  น้ำทะเลที่มีการกัดกร่อน และการพาเราออกเดินทางออกไปไกลจากฝั่งซึ่งหมายถึงการห่างไกลจากผู้คนและความช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุสุดวิสัยขึ้น ดังนั้นการสังเกตเป็นและมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับเครื่องยนต์เรือได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้คุณแก้ไขหรือซ่อมแซมก่อนเกิดเหตุได้ และนี่คือปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้บ่อยกับเครื่องยนต์เรือ

 

  • ระบบจุดระเบิด (Ignition System) ถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานเครื่องยนต์เรือ เช่น คอยล์ และตัวจ่ายไฟ ซึ่งอาจทำงานผิดปกติ ทำให้เครื่องยนต์สตาร์ตยาก กระตุก หรือติด ๆ ดับ ๆ ระหว่างเดินเรือ
  • ระบบเชื้อเพลิง (Fuel System) ก็พบปัญหาได้บ่อย อาทิ ไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิงอุดตัน หัวฉีดสกปรก และปั๊มเชื้อเพลิงทำงานผิดปกติทำให้การจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ไหลลื่น
  • ความร้อนสูงเกินไป (Overheating) หากความร้อนในเครื่องยนต์สูงเกินไปก็ทำให้เครื่องยนต์ของคุณเสียหายได้ สาเหตุอาจมีตั้งแต่เทอร์โมสตัททำงานผิดปกติจนไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ จนถึงทางน้ำอุดตันในเครื่องยนต์ ปั๊มระบบน้ำทะเลเกิดความบกพร่อง
  • การสูญเสียกำลัง (Loss of Power) มีปัจจัยหลากหลายอย่างที่ส่งผลให้เครื่องยนต์เรือสูญเสียกำลัง ไม่ว่าจะเป็นหัวเทียนฉีดสกปรก ตัวกรองอากาศสกปรก หรือปัญหาสิ่งอุดตันภายในเครื่องยนต์ ใบจักรผิดปกติ
  • ระบบไฟฟ้า (Electrical System) เช่น แบตเตอรี่หรือไดชาร์จขัดข้อง ทำให้เครื่องยนต์สตาร์ตไม่ติด

เครื่องยนต์เรือ Cummins ต้องดูแลบ่อยแค่ไหน? และควรตรวจสอบอะไรบ้าง?

checklist เครื่องยนต์ cummins

การตรวจสอบเครื่องยนต์อย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งที่เจ้าของเรือและผู้ใช้งานไม่ควรละเลย เพราะการบำรุงรักษาเครื่องยนต์ให้พร้อมทำงานนั้นหมายถึงความปลอดภัยของผู้โดยสาร การรักษาประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ รวมทั้งช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์เรือให้คุ้มค่าและยาวนานยิ่งขึ้น  

และนี่คือคู่มือการดูแลเบื้องต้นที่ช่วยให้คุณหมั่นสังเกตและตรวจรักษาเครื่องยนต์แต่ละส่วนได้ง่ายด้วยตนเอง

Checklist ที่ควรตรวจสอบเป็นประจำทุกวัน

  • ตรวจวัดระดับน้ำหล่อเย็น
  • ตรวจสอบกรองน้ำมันเชื้อเพลิงแยกน้ำ
  • ตรวจวัดระดับน้ำมันเชื้อเพลง
  • ตรวจวัดระดับน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์เรือ
  • ทำความสะอาดคราบน้ำในเครื่องยนต์
  • ตรวจกรองอากาศ
  • ตรวจระบบระบายความร้อนน้ำทะเล

Checklist ที่ควรตรวจสอบทุก 125 ชั่วโมง หรือ 3 เดือน

  • ตรวจสอบการทำงานของตัวปั๊มสูบน้ำทะเลออกจากห้องเครื่อง
  • ตรวจสอบระบบไฟฟ้าที่เชื่อมต่อกับเครื่องยนต์
  • ตรวจสอบระบบฟอก กรองอากาศ
  • ตรวจสภาพของสังกะสีกันกร่อน (Zinc anode) ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันสนิมให้อะไหล่เครื่องยนต์

Checklist ที่ควรตรวจสอบทุก 250 ชั่วโมง หรือ 6 เดือน

  • ตรวจสภาพไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิง
  • ตรวจวัดระดับความเข้มข้นของสารป้องกันการแข็งตัว
  • ตรวจสภาพตัวปั๊มสูบน้ำออกจากห้องเครื่อง
  • เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องและระบบของเหลวในเครื่องยนต์
  • เปลี่ยนไส้กรองน้ำมัน

Checklist ที่ควรตรวจสอบทุก 500 ชั่วโมงหรือ 1 ปี

  • ตรวจสภาพตัวปั๊มสูบน้ำออกจากห้องเครื่อง
  • ตรวจวัดระดับตัวปรับความตึงสายพานในเครื่องยนต์
  • ตรวจสภาพแบตเตอรี่
  • เปลี่ยนสายพาน
  • ทำความสะอาดเครื่องระบายความร้อน
  • ทำความสะอาดระบบน้ำมันเกียร์
  • ตรวจสภาพระบบปรับอากาศในเครื่องยนต์
  • ตรวจความแน่นหนาของสลักเกลียวยึดเครื่องยนต์
  • ตรวจสภาพอุปกรณ์ตรวจวัดระดับความสั่นของเครื่องยนต์

สรุป

เครื่องยนต์เรือที่ดี คือเครื่องยนต์ที่ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อเป็นเครื่องยนต์เรือ มีความทนทาน ทนต่ออุณหภูมิ สมรรถนะสูงสามารถแบกรับน้ำหนักเรือ ผู้คน และทรัพย์สินบนเรือได้บนความเร็วที่พอดี ด้วยระยะทางต่อวันที่ไกลมากพอ 

เครื่องยนต์เรือ Cummins ได้ถูกออกแบบและพัฒนาระบบอัจฉริยะที่เจ้าของเรือและผู้ขับขี่สามารถสังเกตการแจ้งเตือนความผิดปกติได้จากมอนิเตอร์ของเครื่องยนต์ ทำให้คุณสามารถรู้ทันความผิดปกติของเครื่องยนต์ได้ก่อนออกเดินทางไกลจากฝั่ง 

Cummins มีเครื่องยนต์หลากหลายรุ่น หลายขนาด  ตั้งแต่ขนาด 4.5 ลิตร ไปจนถึง 95 ลิตร ให้คุณได้เลือกใช้อย่างเหมาะสมกับประเภทเรือ ขนาดความจุของเรือ ไปจนถึงลักษณะการใช้งานเฉพาะของธุรกิจ  ที่สำคัญคือวิศวกรของเราจะทำการพูดคุยในรายละเอียด ความต้องการ ข้อจำกัด และข้อกำหนดควบคุมในทุกด้าน (เช่น เรือนั้นต้องวิ่งเข้าสู่น่านน้ำที่มีข้อกำหนดเรื่องมาตรฐานการปล่อยมลพิษต่างจากประเทศไทย) เพื่อกำหนดเป็นสเปคของเครื่องยนต์เรือ (กำหนด engine specification) ก่อนส่งต่อให้โรงงาน Cummins ผลิตขึ้นมาเป็นเครื่องยนต์เรือที่ตรงและครอบคลุมกับความต้องการของคุณให้มากที่สุด

นอกจากนี้ หลังการสั่งซื้อ คุณจะมั่นใจได้ว่าเครื่องยนต์จะถูกติดตั้งด้วยรูปแบบที่เหมาะสม ทำให้เครื่องยนต์เรือได้สมรรถนะเต็มกำลัง พร้อมการ test-drive ด้วยคนของ Cummins เรามีการรับประกันเต็มระยะให้กับเครื่องยนต์เรือของคุณ  มีบริการ  Preventive Maintenance หรือ การบำรุงรักษาตามระยะเพื่อตรวจสอบ ซ่อมแซม หรือเปลี่ยนอุปกรณ์ต่าง ๆ ตามระยะเวลาใช้งานที่กำหนดไว้* มีอะไหล่และชิ้นส่วนที่ได้รับการพัฒนาตามเทคโนโลยีล่าสุด ที่ยังคงใช้กับเครื่องยนต์เรือเดิมของคุณได้ มีศูนย์ซ่อมมาตรฐาน Cummins สำหรับการซ่อมบำรุงครั้งใหญ่ (In-shop service) ไปจนถึงการบริการยังสถานที่ (On-site Service) ยังท่าเรือของคุณเพื่อช่วยดูแลเครื่องยนต์ในส่วนที่มากกว่าการดูแลประจำวันด้วยตัวของคุณเอง เพื่อให้เครื่องยนต์คงสมรรถนะและใช้งานได้ยาวนาน

ย้ำกันอีกครั้งว่า เครื่องยนต์เรือที่ดีจะต้องทำให้คุณเชื่อมั่นและวางใจว่าคุณ ผู้โดยสารของคุณ และทรัพย์สินจะปลอดภัยตั้งแต่ออกจากฝั่งจนถึงปลายทางของอีกฝั่งได้ ที่สำคัญจะต้องดูแลรักษาได้ง่าย ทำได้ด้วยตนเองในเบื้องต้นเพื่อให้คุณสบายใจในทุกครั้งก่อนออกสู่แม่น้ำและท้องทะเล

B4.5L FOR MARINE

 

เครื่องยนต์ดีเซล 4 สูบ 16 วาล์ว 4 จังหวะ ขนาด 4.5 ลิตร มีบริการรับประกันโดยคัมมิ่นส์

N855 CCEC FOR MARINE

เครื่องยนต์ดีเซล 6 สูบ 4 จังหวะ ขนาด 14 ลิตร พร้อมรับประกันโดยคัมมิ่นส์นาน 1 ปี

QSK60 (EPA TIER 4/IMO III)

เครื่องยนต์กระบอกสูบ V-16 ดีเซล 4 จังหวะ ขนาด 60 ลิตร พร้อมรับประกันโดยคัมมิ่นส์นาน 1 ปี

สำหรับเจ้าของธุรกิจที่กำลังมองหาเครื่องยนต์สำหรับเรือ ของ Cummins สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คัมมิ่นส์ ดีเคเอสเอช (ประเทศไทย) โทร. 02-301-7500 หรือ อีเมล: [email protected]

โซลูชั่น Cummins ครบวงจรแห่งเดียวในไทย

เราให้บริการโซลูชั่นเต็มรูปแบบสำหรับทุกความต้องการ ตั้งแต่สินค้า: เครื่องยนต์ดีเซลสำหรับทุกการใช้งาน เครื่องกำเนิดไฟฟ้าครอบคลุมประเภทธุรกิจที่หลากหลาย ไปจนถึงบริการหลังการขาย: ส่วนประกอบ ชิ้นส่วน วัสดุสิ้นเปลือง การซ่อม PM หรือ การทำ Overhaul ประจำปี ศูนย์บริการ วิศวกร และช่างเทคนิคโดย Cummins ของเราได้รับการรับรองมาตรฐานระดับโลก เรามีทีมขายคอยสนับสนุนทั่วประเทศ รวมถึงทุกความต้องการในประเทศลาวและกัมพูชา เราเป็นพันธมิตรโซลูชั่นด้านพลังงานที่ธุรกิจของคุณสามารถวางใจ

เครื่องยนต์ดีเซล

ครอบคลุมทุกกลุ่มอุตสาหกรรม

เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

ตอบโจทย์การผลิตไฟฟ้าสำรองตั้งแต่ฟาร์มปศุสัตว์ไปจนถึง Data Center ขนาดใหญ่

ชิ้นส่วนและอะไหล่

ชิ้นส่วนและอะไหล่คัมมิ่นส์แท้ รวมไปถึงไส้กรอง น้ำมันเครื่อง และวัสดุสิ้นเปลืองอื่นๆที่เรามีพร้อมให้บริการ

งานบริการซ่อม

งานบริการดูแลรักษาและซ่อมบำรุงทั้งในศูนย์ซ่อมมาตรฐานขนาดใหญ่และแบบ on-site บริการถึงหน้างาน