ดูแลเครื่องกำเนิดไฟฟ้า cummins ด้วยตัวเอง

การดูแลเครื่องกำเนิดไฟฟ้า Cummins ด้วยตนเอง  เพื่อให้อายุใช้งานยาวนานและคุ้มค่า

ธุรกิจที่ลงทุนซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ซึ่งราคาไม่น้อย ย่อมต้องการใช้งานและอยากให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพได้อย่างยาวนานและคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป  เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ดังกล่าวการบำรุงรักษาจึงเป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้  ทั้งยังควรหมั่นดูแลตามระยะที่เหมาะสม (หรือตามที่ Cummins แนะนำ) เพื่อที่จะวางใจได้ว่าเครื่องจะทำงานให้คุณได้อย่างดีและสามารถตรวจพบปัญหาเล็ก ๆ ได้ก่อนที่จะนำไปสู่ความเสียหายใหญ่ได้

เปรียบเทียบตัวอย่างได้กับการตรวจสุขภาพช่องปากอย่างสม่ำเสมอ อาจช่วยให้เราตรวจเจอฟันผุได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ และเราสามารถทำการรักษาโดยการอุดฟัน ก่อนที่จะลุกลามไปจนถึงขั้นรักษารากฟันซึ่งมีค่ารักษาที่สูงมาก หรืออาจนำไปสู่การต้องถอนฟันแท้ทิ้ง  เนื่องจากความเสียหายได้ลุกลามไปจนไม่สามารถแก้ไขได้อีกต่อไป  เฉกเช่นเดียวกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ค่าใช้จ่ายของการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอย่อมน้อยกว่าการต้องซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าใหม่ก่อนเวลาอันสมควร**  วันนี้คัมมิ่นส์ ดีเคเอสเอช (ประเทศไทย) มีรายการดูแลเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเบื้องต้นที่คุณสามารถทำได้ด้วยตัวเองมาฝากกัน

“การบำรุงรักษาและหมั่นดูแลตามระยะที่เหมาะสม (ตามที่ Cummins แนะนำ) จะช่วยให้คุณวางใจได้ว่าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของคุณจะทำงานได้อย่างดี และสามารถตรวจพบปัญหาเล็ก ๆ ได้ก่อนที่จะนำไปสู่ความเสียหายใหญ่ได้”

**ผลิตภัณฑ์ทุกประเภทย่อมมีวันเสื่อมและหมดอายุ หากแต่ไม่ควรเกิดขึ้นก่อนเวลาที่ควร

การตรวจสอบและดูแลรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า Cummins

แนวทางในการดูแลรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสามารถทำได้  2 รูปแบบ ได้แก่ การดูแลขั้นพื้นฐานด้วยตัวเอง และการตรวจสอบเฉพาะทางโดยช่างคัมมิ่นส์ที่มีความเชี่ยวชาญ

  1. การสังเกต ตรวจสอบ  และดูแลพื้นฐานที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง
    ได้แก่ การตรวจสอบสภาพภายนอกว่าปกติหรือไม่? มีการรั่วซึมหรือเสียงผิดปกติหรือไม่? สถานะหรือแรงดันของแบตเตอรี่และแบตเตอรี่ชาร์จเจอร์เหมาะสมถูกต้องหรือไม่? ระดับน้ำมันเครื่อง น้ำหล่อเย็น น้ำมันเชื้อเพลิง สภาพของท่ออ่อนและข้อต่าง ๆ เป็นอย่างไร เหล่านี้คือการตรวจสอบขั้นพื้นฐานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องที่คุณสามารถทำได้ด้วยตัวเองในทุกวันหรือทุกสัปดาห์  รวมถึงการสังเกตเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในขณะทำงานจากหน้าจอมอนิเตอร์ที่ Cummins ออกแบบมาให้ง่ายต่อผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการอ่านค่าและควบคุมการทำงาน  คุณจึงสามารถทำงานได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้นและยังลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากการตรวจสอบด้วยตนเองได้อย่างทันท่วงที

  2. การบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ต้องดำเนินการด้วยทีมช่าง Cummins เท่านั้น***
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำ PM หรือการบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องที่มีการใช้งานถึงจำนวนชั่วโมง หรือครบตามระยะเวลาแนะนำตั้งแต่รอบทุก 1 เดือน  6 เดือน จนถึงรอบ 1 ปี**** ซึ่งต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของช่างที่มีประสบการณ์เฉพาะทาง เนื่องจากมีวิธีการเชิงเทคนิคที่ซับซ้อน ต้องใช้เครื่องมือทดสอบที่มีความทันสมัย และต้องอาศัยความระมัดระวังเพื่อไม่ให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของเครื่องได้รับความเสียหาย และเพื่อความปลอดภัยของผู้ตรวจสอบด้วย เราจึงขอแนะนำให้ปรึกษาช่าง Cummins เพื่อเข้ามาดูแลบริการนี้ให้เพื่อผลลัพธ์การบำรุงรักษาที่ดีที่สุด

***ไม่แนะนำให้ดำเนินการเองหรือดำเนินการโดยช่างและศูนย์ซ่อมที่ไม่ได้มาตรฐานคัมมิ่นส์
****อาจเร็วกว่าหรือช้ากว่า ขึ้นอยู่กับความถี่ และลักษณะการใช้งานของแต่ละธุรกิจที่แตกต่างกัน

ดูแลเครื่องกำเนิดไฟฟ้า Cummins ด้วยตัวคุณเองเป็นประจำ

การดูแลตรวจสอบการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าด้วยตัวเองนั้นไม่ใช่เรื่องยาก เพราะเครื่องกำเนิดไฟฟ้าคัมมิ่นส์ของเรานั้นได้ถูกคิดค้นและพัฒนาด้วยเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบสถานะการทำงานผ่านจอควบคุม  และเรายังได้เตรียมข้อมูลในการดูแลเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเบื้องต้นด้วยตนเองทั้งแบบรายวันหรือรายสัปดาห์มาเพื่อคุณในบทความนี้

เพื่อดูแลรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า คุณต้องตรวจสอบอะไรบ้าง?

การบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าด้วยตนเองเป็นประจำ สามารถทำได้โดยการสังเกตและตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพและสภาวะการทำงานปกติ  ซึ่งคัมมิ่นส์มีแนวทางการดูแลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ดังนี้

  1. ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel System)
    น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงสำคัญที่ทำให้เครื่องยนต์/เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสามารถทำงาน ขับเคลื่อนและผลิตกระแสไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง  คุณควรตรวจสอบระดับน้ำมันเชื้อเพลิง ระดับน้ำมันเครื่อง ระดับน้ำหล่อเย็นให้เพียงพออยู่เสมอ สังเกตการรั่วซึมของของเหลว ท่ออ่อน ข้อต่อส่วนต่าง ๆ รวมถึงระดับของแบตเตอรี่ด้วยตัวคุณเองทุกวัน
  2. ระบบหล่อลื่น (Lube System)
    น้ำมันเครื่องหรือน้ำมันหล่อลื่นทำหน้าที่ช่วยหล่อ ห่อหุ้มชิ้นส่วนโลหะในขณะเคลื่อนไหว ช่วยป้องกันการเกิดแรงเสียดทานเพื่อให้เครื่องยนต์/เครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำงานได้อย่างลื่นไหล  ปกป้องเครื่องยนต์จากความร้อน การสึกหรอ และช่วยชำระสิ่งสกปรกในห้องเผาไหม้อีกด้วย  คุณจึงควรตรวจสอบระดับน้ำมันเครื่องให้เหมาะสม  ดูสีของน้ำมันเครื่อง  ตะกอน  รวมทั้งเลือกใช้น้ำมันเครื่องหรือน้ำมันหล่อลื่น Valvoline Premium Blue ที่ Cummins แนะนำโดยเฉพาะ และทำการเปลี่ยนถ่ายเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมอยู่เสมอ

    **เวลาที่เหมาะสมไม่สามารถกำหนดเป็นจำนวนวันหรือเดือนที่ชัดเจน แต่ขึ้นอยู่กับการใช้งานเครื่องมาก น้อย บ่อย หนักหรือไม่ เป็นสำคัญ

  3. ระบบน้ำหล่อเย็น (Cooling System)
    น้ำยาหล่อเย็น (Coolant)และระบบหล่อเย็นทำหน้าที่ในการช่วยระบายความร้อนออกจากน้ำมันเครื่องผ่านตัว Oil Cooler เพื่อให้น้ำมันเครื่องมีอุณหภูมิที่เหมาะสมในการทำหน้าที่ระบายความร้อนของเครื่องยนต์ต่อไป ส่วนตัวของมันเองจะไปผ่านหม้อน้ำ (Radiator) หรือ หม้อแลกเปลี่ยนความร้อน (Heat Exchanger) เพื่อวนกลับมาทำหน้าที่สำคัญนี้ต่อไป หน้าที่ของคุณที่สามารถทำได้ คือการเลือกใช้น้ำหล่อเย็นและเคมีภัณฑ์ยี่ห้อที่เหมาะสมกับเครื่องยนต์/เครื่องกำเนิดไฟฟ้าคัมมิ่นส์เท่านั้น นี่เป็นหัวใจสำคัญลำดับแรกในการปกป้องเครื่องยนต์/เครื่องกำเนิดไฟฟ้าของคุณ (ดูน้ำหล่อเย็นและเคมีภัณฑ์ Fleetguard ที่ Cummins แนะนำ) นอกจากนี้ ควรหมั่นดูระดับน้ำหล่อเย็นให้เหมาะสม ตรวจดูการรั่วซึมของหม้อน้ำ และรีบแจ้งศูนย์บริการคัมมิ่นส์ทันทีหากพบปัญหาที่คุณไม่สามารถแก้ไขได้ ติดต่อศูนย์ซ่อมคัมมิ่นส์
  4. ระบบท่อไอเสีย (Exhaust System)
    เมื่อเครื่องยนต์/เครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำงานจะเกิดการเผาไหม้ ส่วนหนึ่งได้เป็นกำลังไฟฟ้าและอีกส่วนเกิดเป็นไอเสียจากกระบวนการเผาไหม้ปล่อยออกทางท่อไอเสีย  คุณควรสังเกตว่าท่อไอเสียและข้อต่อต่าง ๆ มีความสมบูรณ์ ไม่ผุกร่อน ไม่มีรอยรั่ว หรือเปลี่ยนแปลงไปจากสภาพปกติหรือไม่ โดยควรตรวจสอบเช่นนี้เป็นประจำทุกสัปดาห์
  5. ระบบไอดี (Air Intake System)

    การเผาไหม้ในเครื่องยนต์ นอกจากน้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว องค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ คือ “อากาศ” หรือ “ไอดี (Air Intake)”  ซึ่งถูกดูดเข้ากระบอกสูบด้วยแรงดูดของลูกสูบและแรงอัดของเทอร์โบชาร์จเจอร์ ไอดีจะถูกอัดจนมีความร้อนเมื่อผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงจากหัวฉีด (องค์ประกอบสุดท้ายในการเผาไหม้) จะเกิดการจุดติดระเบิดเป็นกำลังส่งออกไปให้กับเครื่องยนต์ ดังนั้นจึงสำคัญมากที่อากาศที่เข้าห้องเผาไหม้จะต้องสะอาดอยู่เสมอรวมถึงหากมีระบบอัดอากาศร่วมด้วยต้องมั่นใจว่าอากาศที่เข้าห้องเผาไหม้ไม่สูญเสียแรงดันจากท่อทางหรือข้อต่อต่างๆ คุณจึงควรหมั่นดูแลท่อ ข้อต่อ และจดบันทึกระยะที่สมควรเปลี่ยนกรองอากาศอยู่เป็นประจำ

  6. แบตเตอรี่ (Battery)
    แบตเตอรี่เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญยิ่งสำหรับการสตาร์ตเครื่องยนต์/เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ในขั้นต้น สิ่งที่คุณควรตรวจเช็กในทุกวันเพื่อให้แบตเตอรี่ทำหน้าที่ช่วยจุดระเบิดได้อย่างเป็นปกติ คือแรงดันของแบตเตอรี่และระดับอิเล็กโทรไลต์ของแบตเตอรี่ที่สามารถสังเกตดูได้ด้วยตนเอง

  7. แบตเตอรี่ชาร์จเจอร์ (Battery Charger)
    แบตเตอรี่ชาร์จเจอร์ทำหน้าที่ผลิตและจ่ายไฟไปยังแบตเตอรี่ เพื่อให้แบตเตอรี่มีแรงดัน ความเสถียร และพลังงานที่เพียงพอต่อการสตาร์ตของเครื่องยนต์  ชาร์จเจอร์ที่เสื่อมคุณภาพ ย่อมไม่สามารถทำหน้าที่ชาร์จแบตเตอรี่ได้อย่างสมบูรณ์ และจะส่งผลต่อการทำงานของส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องต่อไปเป็นลูกโซ่ คุณจึงควรตรวจสอบสถานะของแบตเตอรี่ชาร์จเจอร์ในทุกวัน
  8. ไส้กรอง (Filtration)
    อากาศ คือ องค์ประกอบหนึ่งในการจุดระเบิด นอกเหนือไปจากไฟ  และเชื้อเพลิงที่เป็นองค์ประกอบ 3 ประการ ไส้กรองจึงเป็นชิ้นส่วนสำคัญที่ช่วยกรองอากาศ เพราะอากาศนำเข้าที่สะอาด (ไอดี) ย่อมส่งผลต่อการเผาไหม้ที่สมบูรณ์  มีคุณภาพ  ได้สมรรถนะเต็มกำลัง ลดโอกาสเสี่ยงที่จะทำให้การทำงานสะดุด หยุด ชะงัก  คุณจึงควรตรวจสอบสภาพไส้กรอง สังเกตการอุดตัน และเปลี่ยนใหม่เสมอเมื่อถึงระยะที่เหมาะสมในทุก ๆ สัปดาห์*

    คัมมิ่นส์ได้ลงทุนวิจัยและพัฒนาร่วมกับ Fleetguard ซึ่งเป็นบริษัทระดับโลกด้านการออกแบบและผลิตระบบกรอง พร้อมสร้างสรรค์ไส้กรองที่ตรงตามหลักวิศวกรรมให้เหมาะสมเฉพาะกับเครื่องยนต์/เครื่องกำเนิดไฟฟ้าคัมมิ่นส์อย่างแท้จริง อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่

    *ระยะที่เหมาะสมไม่สามารถกำหนดเป็นจำนวนวันหรือเดือนที่ชัดเจน แต่ขึ้นอยู่กับการใช้งานเครื่องมาก น้อย บ่อย หนักหรือไม่ เป็นสำคัญ

สรุปช่วงเวลาที่เหมาะสม สำหรับการบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าด้วยตนเอง

สิ่งที่สามารถดำเนินการตรวจสอบได้ด้วยตัวเองเป็นประจำทุกวัน: เช่น

  • การรั่วซึมของน้ำมันเครื่อง น้ำหล่อเย็น และ น้ำมันเชื้อเพลิง
  • สถานะของแบตเตอรี่ชาร์จเจอร์
  • ระดับแรงดันของแบตเตอรี่
  • ถ่ายทิ้งน้ำหรือเศษตะกอนของถังน้ำมันเชื้อเพลิง
  • ถ่ายทิ้งน้ำที่ Fuel Water Separator (ถ้ามี)

สิ่งที่สามารถดำเนินการตรวจสอบได้ด้วยตัวเองเป็นประจำทุกสัปดาห์: เช่น

  • ระดับน้ำมันเครื่อง น้ำหล่อเย็น และน้ำมันเชื้อเพลิง
  • ความสมบูรณ์ของท่ออ่อน และข้อต่อต่าง ๆ
  • สวิตช์ลูกลอย (ถ้ามี) 
  • ระดับอิเล็กโทรไลต์ของแบตเตอรี่
  • สายคอนโทรลต่าง ๆ
  • สวิตช์ควบคุม

การหมั่นสังเกตและดูแลเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เบื้องต้นที่สามารถทำได้ด้วยตัวของคุณเองในทุก ๆ วันหรือประจำสัปดาห์ นอกจากจะช่วยให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าของคุณทำงานได้อย่างเต็มสมรรถนะ ไม่เกิดการสูญเสียกำลังไฟฟ้าอันเนื่องมาจากการบกพร่องหรือชำรุดของชิ้นส่วนต่าง ๆ ยังช่วยให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าของคุณทำงานได้ต่อเนื่อง ทนทาน ปลอดภัย…นำมาซึ่งความคุ้มค่าของเงินที่จ่ายอย่างแท้จริง

อย่างไรก็ตาม คำแนะนำข้างต้นนั้นไม่ครอบคลุมถึงการตรวจสอบหรือซ่อมบำรุงที่ต้องอาศัยความชำนาญ อุปกรณ์ เครื่องมือ หรือเทคโนโลยีเฉพาะจากช่างผู้ผ่านการสอบวัดความรู้และได้รับการอบรมขั้นตอนการทำงานจาก Cummins Inc เท่านั้น การซ่อมบำรุงในระดับนี้เราแนะนำว่าควรทำเป็นประจำทุก ๆ รอบ 6 เดือน และทุกรอบ 1 ปี  ซึ่งจะมีขั้นตอนและชิ้นส่วนที่ต้องซ่อมบำรุงต่างกันในแต่ละรอบ

สรุป

เจ้าของและผู้ใช้งานเครื่องกำเนิดไฟฟ้าคัมมิ่นส์ ควรหมั่นตรวจสอบเครื่องยนต์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าตามคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายของ Cummins DKSH (Thailand) อยู่เสมอ เพื่อให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ คุ้มค่า และปลอดภัย สำหรับการดูแลเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเบื้องต้นนี้จะเป็นเหมือนแนวทางที่ช่วยให้คุณหรือผู้ปฏิบัติงานของคุณทำการตรวจสอบด้วยตัวเองได้อย่างมั่นใจมากยิ่งขึ้น 

สำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีอายุการใช้งานโดยประมาณที่ 6 เดือน หรือ 1 ปี (อาจเร็วกว่าหรือช้ากว่ากำหนด*) เราขอแนะนำให้คุณปรึกษาและติดต่อสอบถามกับศูนย์ซ่อมคัมมิ่นส์โดยตรง เพื่อความถูกต้องในการวิเคราะห์และวินิจฉัยที่ถูกต้อง เป็นตามมาตรฐานของ Cummins Inc  ผ่านทางโทรศัพท์ 📞 02-301-7500 และอีเมล [email protected] 

 แจ้งขอรับการประเมินราคาซ่อมบำรุงได้ที่ : https://www.cumminsdkshthailand.com/service-request/

*เร็วหรือช้ากว่า 6 เดือน – 1 ปี นั้นขึ้นอยู่กับการใช้งานเครื่องมาก น้อย บ่อย หนักหรือไม่ เป็นสำคัญ

โซลูชั่น Cummins ครบวงจรแห่งเดียวในไทย

เราให้บริการโซลูชั่นเต็มรูปแบบสำหรับทุกความต้องการ ตั้งแต่สินค้า: เครื่องยนต์ดีเซลสำหรับทุกการใช้งาน เครื่องกำเนิดไฟฟ้าครอบคลุมประเภทธุรกิจที่หลากหลาย ไปจนถึงบริการหลังการขาย: ส่วนประกอบ ชิ้นส่วน วัสดุสิ้นเปลือง การซ่อม PM หรือ การทำ Overhaul ประจำปี ศูนย์บริการ วิศวกร และช่างเทคนิคโดย Cummins ของเราได้รับการรับรองมาตรฐานระดับโลก เรามีทีมขายคอยสนับสนุนทั่วประเทศ รวมถึงทุกความต้องการในประเทศลาวและกัมพูชา เราเป็นพันธมิตรโซลูชั่นด้านพลังงานที่ธุรกิจของคุณสามารถวางใจ

เครื่องยนต์ดีเซล

ครอบคลุมทุกกลุ่มอุตสาหกรรม

เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

ตอบโจทย์การผลิตไฟฟ้าสำรองตั้งแต่ฟาร์มปศุสัตว์ไปจนถึง Data Center ขนาดใหญ่

ชิ้นส่วนและอะไหล่

ชิ้นส่วนและอะไหล่คัมมิ่นส์แท้ รวมไปถึงไส้กรอง น้ำมันเครื่อง และวัสดุสิ้นเปลืองอื่นๆที่เรามีพร้อมให้บริการ

งานบริการซ่อม

งานบริการดูแลรักษาและซ่อมบำรุงทั้งในศูนย์ซ่อมมาตรฐานขนาดใหญ่และแบบ on-site บริการถึงหน้างาน